Thursday, October 18, 2012

กลไกของการนอนหลับ Sleep Mechanism

การนอนหลับ


การนอนเป็นส่วนหนึ่งของคนเรา ไม่มีใครที่ไม่นอน และก็เช่นกันที่ไม่มีใครนอนจนไม่อยากจะตื่น ไม่อยากทำงาน หรือทำมาหากินอะไร แต่การนอนเป็นเรื่องปกติที่ปุถุชนทุกคนต้องหลับนอน และคนเรามักมีเวลานอนอยู่ 2 ช่วง คือ ตอนกลางคืน กับตอนเที่ยงหลังอาหาร อย่างที่เขาบอกว่าหนังท้องตึง หนังตาเริ่มหย่อน อาการง่วงแสดงออกมา จนไม่อยากจะทำงาน หรืออย่างน้อยๆ ก็หาเวลาสักเล็กน้อยนอนหลับก็ยังดี

กลไกการนอนหลับ

เมื่อความมืดมาเยือน เซลล์ที่จอภาพ [retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วงการนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้

การนอนช่วง Non-rapid eye movement (non-(REM) sleep) การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนในช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่ 1 ไปจน REM และกลับมาระยะ 1 ใหม่

Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า

Stage 2 (so-called true sleep) ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหว คลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles

Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษะ delta waves

Stage 4 ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ 3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุด ตาจะไม่เคลื่อนไหว ร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย

การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้

เราจะใช้เวลานอนร้อยละ 50 ใน Stage 2 ร้อยละ 20 ในระยะ REM ร้อยละ 30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110 นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมง โดยหลับตั้งแต่ค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวน ชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน

อาการนอนไม่หลับ อาการนอนไม่หลับไม่ใช่เป็นโรค แต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากกว่า 30 นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...